วันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2555

อุปกรณ์เครือข่ายอื่น ๆ

Hub คืออะไร
  Hub (ฮับ) หรือบางทีก็เรียกว่า "รีพีตเตอร์ (Repeater)" คือ อุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อกลุ่มของคอมพิวเตอร์ Hub มีหน้าที่รับส่งเฟรมข้อมูลทุกเฟรมที่ได้รับจากพอร์ตใดพอร์ตหนึ่งไปยังทุก ๆ พอร์ตที่เหลือ คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับ Hub จะแชร์แบนด์วิธหรืออัตราข้อมูลของเครือข่าย ฉะนั้นยิ่งมีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อเข้ากับ Hub มากเท่าใด ยิ่งทำให้แบนด์วิธต่อคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องลดลง ในท้องตลาดปัจจุบันมี Hub หลายชนิดจากหลายบริษัท ข้อแตกต่างระหว่าง Hub เหล่านี้ก็เป็นจำพวกพอร์ต สายสัญญาณที่ใช้ ประเภทของเครือข่าย และอัตราข้อมูลที่ Hub รองรับได้
    การที่อุปกรณ์เครือข่ายอีเธอร์เน็ตสามารถทำงานได้ที่ความเร็ว 2 ระดับ เช่น 10/100 Mbps นั้น ก็เนื่องจากอุปกรณ์เครื่องนั้นมีฟังก์ชันที่สามารถเช็คได้ว่าอุปกรณ์ หรือคอมพิวเตอร์ที่มาเชื่อมต่อกับ Hub นั้นสามารถรับส่งข้อมูลได้ที่ความเร็วสูงสุดเท่าใด และอุปกรณ์นั้นก็จะเลือกอัตราข้อมูลสูงสุดที่รองรับทั้งสองฝั่ง ฟังก์ชันนี้จะเรียกว่า "การเจรจาอัตโนมัติ (Auto-Negotiation)" ส่วนใหญ่ Hub หรือ Switch ที่ผลิตจะมีฟังก์ชันนี้อยู่ เพื่อให้สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายอีเธอร์เน็ตที่ความเร็วต่างกันได้ ถ้ามีอุปกรณ์เครือข่าย หรือคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องเชื่อมต่อเข้ากับ Hub และแต่ละโหนดสามารถส่งข้อมูลได้ในอัตราที่ต่างกัน Hub ก็จะเลือกอัตราส่งข้อมูลที่อัตราความเร็วต่ำสุด เนื่องจากคอมพิวเตอร์เหล่านี้จัออยู่ในคอลลิชันโดเมน (Collision Domain) เดียวกัน ตัวอย่างเช่น ถ้า LAN การ์ดของคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งสามารถรับส่งข้อมูลได้ที่่ 10 Mbps ส่วน LAN การ์ดของคอมพิวเตอร์ที่เหลือสามารถรับส่งข้อมูลได้ 10/100 Mbps แล้วคอมพิวเตอร์เหล่านี้เชื่อมต่อเข้ากับ Hub เดียวกันที่รองรับอัตราความเร็วที่ 10/100 Mbps เครือข่ายนี้ก็จะทำงานที่ความเร็ว 10 Mbps เท่านั้น แต่ถ้าเป็น Switch อัตราความเร็วจะขึ้นอยู่กับความเร็วของคอมพิวเตอร์ เนื่องจาก Switch จะแยกคอลลิชันโดเมน

 Switch (สวิตซ์) คือ อุปกรณ์เครือข่ายที่ทำหน้าที่ใสเลเยอร์ที่ 2 Switch บางทีก็เรียกว่า Switching Hub (สวิตชิ่งฮับ) ซึ่งในช่วงแรกนั้นจะเรียกว่า Bridge (บริดจ์) เหตุผลที่เรียกว่าบริดจ์ในช่วงแรกนั้น เพราะส่วนใหญ่บริดจ์จะมีแค่สองพอร์ต และใช้สำหรับแยกคอลลิชันโดเมน ปัจจุบันที่เรียกว่า Switch เพราะหมายถึง บริดจ์ที่มีมากกว่าสองพอร์ตนั่นเอง
 
Switch จะฉลาดกว่า Hub คือ Switch สามารถส่งข้อมูลที่ได้รับมาจากพอร์ตหนึ่งไปยังเฉพาะพอร์ตที่เป็นปลายทางเท่านั้น ทำให้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับพอร์ตที่เหลือสามารถส่งข้อมูลถึงกัน และกันได้ในเวลาเดียวกัน การทำเช่นนี้ทำให้อัตราการส่งข้อมูล หรือแบนด์วิธไม่ขึ้นอยู่กับจำนวนคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับ Switch คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะมีแบนด์วิธเท่ากับแบนด์วิธของ Switch

 ด้วยข้อดีนี้เครือข่ายที่ติดตั้งใหม่ในปัจจุบันส่วนใหญ่จะนิยมใช้ Switch มากกว่า Hub เพราะจะไม่มีปัญหาเกี่ยวกับการชนกันของข้อมูลในเครือข่าย

Gateway คือ

เป็นจุดต่อเชื่อมของเครือข่ายทำหน้าที่เป็นทางเข้าสู่ระบบเครือข่ายต่าง ๆ บนอินเตอร์เน็ต ในความหมายของ router ระบบเครือข่ายประกอบด้วย node ของ gateway และ node ของ host เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ในเครือข่าย และคอมพิวเตอร์ที่เครื่องแม่ข่ายมีฐานะเป็น node แบบ host ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมการจราจรภายในเครือข่าย หรือผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต คือ node แบบ gateway
ในระบบเครือข่ายของหน่วยธุรกิจ เครื่องแม่ข่ายที่เป็น node แบบ gateway มักจะทำหน้าที่เป็นเครื่องแม่ข่ายแบบ proxy และเครื่องแม่ข่ายแบบ firewall นอกจากนี้ gateway ยังรวมถึง router และ switch

Modem (โมเด็ม) คืออะไร

โมเด็มมาจากคำว่า MOdulator/DEModulator โดยแยกการทำงานออกเป็น Modulation คือการแปลงสัญญาณดิจิตอล จากเครื่องคอมพิวเตอร์ ต้นทางให้กลายเป็นสัญญาณอะนาลอกแล้วส่งไปตามสายโทรศัพท์ และ Demodulation คือการเปลี่ยนจากสัญญาณอะนาลอก ที่ได้จากสายโทรศัพท์ให้กลับไปเป็นสัญญาณดิจิตอล เพื่อส่งต่อไปยัง เครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทาง สัญญาณจากคอมพิวเตอร์เป็นสัญญาณ Digital มีแค่ 0 กับ 1 เท่านั้น เมื่อเปลี่ยนมาเป็นสัญญาณอะนาลอกอยู่ในรูปที่คล้ายกับสัญญาณไฟฟ้าของ โทรศัพท์ จึงส่งไปทางสายโทรศัพท์ได้ สำหรับปัจจุบันนี้ความไวของโมเด็มจะสูงขึ้นที่ 56 Kbps ตอนแรกมีมาตรฐานออกมา 2 อย่างคือ X2 และ K56Flex ออกมาเพื่อแย่งชิงมาตรฐานกัน ทำให้สับสน ในการใช้งาน ต่อมามาตรฐานสากล ได้กำหนดออกมาเป็น V.90 เป็นการยุติความไม่แน่นอน ของการใช้งาน โมเด็มบางตัวสามารถ อัพเดทเป็น V.90 ได้ แต่บางตัวก็ไม่สามารถทำได้ สำหรับโมเด็มปัจจุบันนี้ยังมีความสามารถในการรับส่ง Fax ด้วย ความไวในการส่ง Fax จะอยู่ที่ 14.4 Kb. เท่านั้น
สามารถแบ่งการใช้งานออกได้เป็น 3 อย่างคือ
1. Internal
2. External
3. PCMCIA

Internal Modem
Internal Modem เป็นโมเด็มที่มีลักษณะเป็นการ์ดเสียบกับสล็อตของเครื่องอาจจะเป็นแบบ ISA หรือPCI ข้อดีก็คือ ไม่เปลืองเนื้อที่ ราคาไม่แพงมากนัก ใช้ไฟเลี้ยงจาก Mainboard ข้อเสียคือ ติดตั้งยากกว่าแบบภายนอก เนื่องจากติดตั้งภายในเครื่องทำให้ใช้ไฟในเครื่องอันส่งผลให้เพิ่มความร้อน ในเครื่อง เคลื่อนย้ายได้ไมสะดวกยาก ใช้ได้เฉพาะเครื่องคอมแบบ PC เท่านั้นไม่สามารถใช้งานกับ NoteBook ได้


Router คืออะไร
Router (เราท์เตอร์) คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในเลเยอร์ 3 หรือเลเยอร์เครือข่าย Router จะฉลาดกว่า Hub และ Switch
Router จะอ่านที่อยู่ (Address) ของสถานีปลายทางที่ส่วนหัว (Header) ของแพ็กเก็ตข้อมูล เพื่อใช้ในการกำหนด หรือเลือกเส้นทางที่จะส่งแพ็กเก็ตนั้นต่อไป ใน Router จะมีข้อมูลเกี่ยวกับการจัดเส้นทางให้แพ็กเก็ต เรียกว่า Routing Table (เราติ้งเทเบิ้ล) หรือ ตารางการจัดเส้นทาง ข้อมูลในตารางนี้จะเป็นข้อมูลที่ Router ใช้ในการเลือกเส้นทางที่ดีที่สุดไปยังปลายทาง ถ้าเส้นทางหลักเกิดขัดข้อง Router ก็สามารถเลือกเส้นทางใหม่ได้

          นอกจากนี้ Router ยังสามารถส่งข้อมูลไปยังเครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลต่างกันได้ โปรโตคอลที่ทำหน้าที่ในเลเยอร์ที่ 3 เช่น IP (Internet Protocol), IPX (Internet Package Exchange) และ Apple Talk เป็นต้น นอกจากนี้ Router ยังสามารถเชื่อมต่อเครือข่ายระยะไกล (Wan) ได้ และยังสามารถเชื่อมต่อเครือข่ายเข้ากับเครือข่ายอื่น ๆ ที่ใหญ่กว่า เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นต้น

Bridge คืออะไร

       อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่ใช้ในเครือข่ายเพื่อต่อเครือข่ายภายใน (แม้ว่าจะใช้สายหรือโปรโตคอลในเครือข่ายที่ต่างกัน) เข้าด้วยกันเพื่อให้แลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ บริดจ์จะทำงานอยู่ในดาต้าลิงก์เลเยอร์ตามมาตรฐานของการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์ของ International Organization’s Standards Open Systems Interconnection (ISO/OSI) บริดจ์ทำหน้าที่จัดการกับข้อมูลที่ส่งไปมาระหว่าง 2 เครือข่าย ด้วยการอ่านตำแหน่งของข้อมูลทุกแพคเกตที่ได้รับ

Repeater คืออะไร

       1) ในเครือข่ายระบบโทรคมนาคม repeater เป็นอุปกรณ์รับสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic) หรือ Optical transmission เพื่อขยายสัญญาณแล้วส่งต่อไปยังขาต่อไปของตัวกลม Repeater เหนือกว่า attenuation เนื่องจากปราศจากผลของสนามแม่เหล็กไฟฟ้า หรือการสูญเสียในสายส่ง ชุดของ Repeater ทำให้มีความเป็นไปได้ในการขยายสัญญาตลอดระยะทาง Repeater ใช้เซกเมนต์ในการติดต่อภายในของ LAN เพื่อใช้ในการเพิ่มและขยายการส่งของเครือข่ายแบบ WAN บนสายหรือไร้สาย
ในการสร้างความเข้มแข็งให้กับสัญญาณ repeater สามารถขจัด "noise" หรือสัญญาณที่ไม่ต้องการ ซึ่งทำได้ในระบบดิจิตอล ในขณะที่สัญญาณแบบอะนาล็อก ใช้การเพิ่มความเข้มแข็งโดยการขยายความสูงคลื่น จึงมีโอกาสที่ทำให้การขยายส่วนของ "Noise" เช่นเดียวกับสารสนเทศ สัญญาณแบบดิจิตอลขึ้นกับการมาหรือไม่มาของความต่างศักย์ ทำให้การกระจายเป็นไปอย่างรวดเร็วกว่าสัญญาณแบบอะนาล็อก
ในระบบสายส่ง repeater เป็นสิ่งธรรมดา ประกอบด้วยวงจรขยาย และคู่ของตัวแปลงสัญญาณ impedance ของสายต้องจับคู่ได้กับการนำเข้าและการส่งออกของ วงจรขยายเพื่อทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด การจับคู่ของ impedance จะลดผลสะท้อนของสัญญาณตลอดสาย
ในระบบการสื่อสารแบบไร้สาย repeater ประกอบด้วยวิทยุรับ ตัวขยาย, transmitter, isolator และเสาอากาศ 2 ชุด transmitter จะผลิตสัญญาณบนความถี่ที่ต่างจากสัญญารับ ที่เรียกว่า frequency offset เพื่อป้องกันความเข้มแข็งของสัญญาณ isolator จะเพิ่มการป้องกัน repeater ถ้าอยู่ในสถานที่ที่เหมาะสม เช่น บนอาคารสูง ภูเขา เพื่อความสามารถในการทำงานของเครือข่ายแบบไร้สาย โดยทำให้การสื่อสารมีความกว้างขวางขึ้น
ในระบบเครือข่ายแบบ Fiber optic repeater ประกอบด้วย Photocell ตัวขยาย light-emitting diode (LED) หรือ infrared-emitting diode (IRED) สำหรับแสงหรือสัญญาณ IR ที่ต้องการขยาย repeater ของ fiber optic ทำงานที่ระดับพลังงานที่ต่ำกว่าระบบไร้สาย ทำให้ง่ายกว่าและถูกกว่า แต่การการแบบต้องคำนึงถึงการลด "Noise"
        2) Bus repeater เป็นการเชื่อม bus ของคอมพิวเตอร์กับ bus ในคอมพิวเตอร์ตัวอื่น



 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น